วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัตินักจิตวิทยาทฤษฎีการเรียนรู้

ประวัติของวัตสัน




ประวัติความเป็นมา

          จอห์น บี วัตสัน(John B. Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1878 – 1958 รวมอายุได้ 90 ปี วัตสันได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาเป็นหลักสำคัญในการอธิบายเรื่องการเรียน ผลงานของวัตสันได้รับความนิยมแพร่หลายจนได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม” ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion)


ประวัติของพาฟลอฟ






ประวัติความเป็นมา
          
          พาฟลอฟมีชื่อเต็มว่า Ivan Petrovich Pavlov เป็นชาวรัสเซีย มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ค.ศ. 1849 - 1936 ถึงแก่กรรมเมื่ออายุประมาณ 87 ปี
          พาฟลอฟเป็นนักวิทยาศาสตร์ ครั้งแรกเขาสนใจศึกษาระบบการหมุนเวียนโลหิตและระบบหัวใจ ต่อมาได้หันไปสนใจศึกษา เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร จนทำให้เข้าได้รับรางวัลโนเบิลสาขาสรีรวิทยา ในปี ค.ศ.1904
ต่อมาพาฟลอฟได้หันมาสนใจเกี่ยวกับด้านจิตเวช (Psychiatry) และในบั้นปลายของชีวิต เขาได้อุทิศเวลาทั้งหมดในการสังเกตความเป็นไปในโรงพยาบาลโรคจิต และพยายามนำการสังเกตเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทดลองสุนัขในห้องปฏิบัติการจนได้รับชื่อเสียงโด่งดัง และได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกขึ้น


ประวัติของสกินเนอร์




ประวัติความเป็นมา

เบอร์รัชเอฟ. สกินเนอร์(BurrhusF.Skinner) เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาเวิอร์ดสหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1904 เขาเป็น  นักการศึกษาและนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่ง เขาไดทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบอาการกระทำ 
(Operant conditioning) จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 เป็นต้นมา

ประวัติของธอร์นไดค์




          ธอร์นไดค์ (Edward L Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน เป็นเจ้าของทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) เขาเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ต้องสร้างสิ่งเชื่อมโยงหรือพันธ์ (Bond) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีพันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism Theory) หรือ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง


ประวัติของแบนดูรา




ประวัติของศาสตราจารย์บันดูรา
เกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา
เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
รับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ประวัติปัญญานิยมของเกสตัลท์



         กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt  Psychology) แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ เกิดขึ้นในระยะใกล้เคียงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม ผู้นำกลุ่มได้แก่ แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ (Max Wertheimer) และผู้ร่วมกลุ่มอีก 3 คน คือ เคอร์ท เลอวิน (Kurt Lewin) , เคอร์ท คอฟพ์กา (Kurt Koffka) และวอล์ฟแกง โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน
         คำว่า เกสตัลท์ (Gestalt) เป็นภาษาเยอรมัน ความหมายเดิมแปลว่า แบบหรือรูปร่าง (Gestalt = form or Pattern) ต่อมาปัจจุบันแปลว่าส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด (Gestalt =The wholeness)
กลุ่มเกสตัลท์ มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ มารวมกันเริ่มต้นด้วยการรับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น