วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

หน้าแรก

จิตวิทยาสำหรับครู
             
          จิตวิทยาสําหรับครู  เปนศาสตรที่ศึกษาเพื่อใหผูสอนมีความรูความเขาใจความแตกตางและความตองการของผูเรียน  ในอันที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผูเรียนไปสูแนวทางอันพึงประสงคได  โดยผูสอนควรมีความรูความเขาใจ  ดังนี้

ความพรอมของผูเรียน 

   1.  ความพรอมทางดานรางกาย  ซึ่งหมายถึงความพรอมอันเกิดจากความเปนปกติทางรางกาย เชน ไมอดนอน ไมหิวโหย ไมเจ็บปวย ไมรอนหรือหนาวจนเกินไป เปนตน
   2. ความพรอมทางดานจิตใจและดานอารมณ เรื่องนี้ครู อาจารยมีความเกี่ยวของมากขึ้น แตอีกสวนหนึ่งก็เปนความรับผิดชอบของนิสิตนักศึกษาอยูเหมือนเดิม  สวนที่เกิดมากจากนิสิตนักศึกษาเอง

  3. ความพรอมทางดานสติปญญา หมายถึงการมีพื้นฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะเรียนรูหรือรับรูสิ่งใหม ๆ ทางวิชาการ

หลักการสําคัญของการเรียนรู
   1.ผูเรียนควรจะมีสวนรวมในการเรียนรูอยางจริงจัง (Active Participation)
   2.ผูเรียนควรจะไดเรียนรูทีละขั้นทีละตอนจากงายไปสูยากและจากไมซับซอนไปสูรูปที่ซับซอน (Gradual approximation)
   3.ใหนักเรียนไดรับขอมูลยอนกลับที่เหมาะสมและไมเนิ่นนานจนเกินไป  (Immediate feedback)
   4. การเสริมแรงหรือใหกําลังใจที่เหมาะสม (Appropriate Reinforcement)


เรื่องที่ 1 ทฤษฎีพัฒนาการ

ความหมายของพัฒนาการ

นักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของคำว่าพัฒนาการ (development) ดังนี้
     สุชา จันทร์เอม (2540 : 1) กล่าวว่าพัฒนาการ หมายถึง ลำดับของการเปลี่ยนแปลงหรือกระบวนการเปลี่ยนแปลง (process of change) ของมนุษย์ทุกส่วนที่ต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต
     ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต (2541 : 1) ได้ให้คำจำกัดความของพัฒนาการว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน มีขั้นตอน เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านเจริญเติบโตงอกงามและถดถอย และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลรวมของวุฒิภาวะและประสบการณ์ 
     ศรีเรือน แก้วกังวาล (2540 : 21) กล่าวว่าพัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทั้งที่สังเกตได้ง่าย ชัดเจน และมองเห็นได้ยาก ไม่ชัดเจน ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

      จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า พัฒนาการเป็นกระบวนการพัฒนาของมนุษย์ในทุก ๆ ด้านของชีวิตตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิตจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งในลักษณะของการเจริญงอกงามและการถดถอย ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับ ซึ่งนำไปสู่ความมีวุฒิภาวะ

                นักจิตวิทยาทฤษฎีพัฒนาการ

-ฟรอยด์
-อิริคสัน
-โรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
-เปียเจท์
-โคลเบิร์ก
-บรูเนอร์

 เรื่องที่ 2 ทฤษฎีการเรียนรู้

      ความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้

       การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครูมีหน้าที่จัดประการณ์ในห้องเรียน เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน นักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ ทฤษฎีของการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะขอนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ
          1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
          2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
          3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา


พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
1.การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย
       - การสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน
      - การใช้สื่อหลาย ๆ แบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่าง และการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ
     - การเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ อย่าง
     - การอธิบายปรากฏการณ์ด้วยความรู้ที่เด็กได้รับ

3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง

      - การให้เด็กได้ลงมือทดลอง ประดิษฐ์ หรือได้เล่าประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้อง 

            นักจิตวิทยาทฤษฎีการเรียนรู้

-พาฟลอฟ
-วัตสัน
-ธอร์นไดค์
-สกินเนอร์
-บันดูรา
-กลุ่มเกสตัลท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น