วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

สรุปทฤษฎีนักจิตวิทยา

ทฤษฏีพัฒนาการ

ที่
ทฤษฏี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
ลำดับขั้น
ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1
ฟรอยด์
บุคลิกภาพ
ฟรอยด์ เชื่อว่าบุคลิกภาพส่วนใหญ่ของมนุษย์ที่แตกต่างกัน   เป็นผลมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนในแต่ละช่วงวัย   ขึ้นอยู่กับแต่ละคน   การแก้ปัญหาความขัดแย้งของในแต่ละช่วงวัยอย่างไร   โดยในช่วงอายุ 0-6 ปีแรกของชีวิตจะมีความสำคัญมาก
ขั้น
ต้องรู้วัยพัฒนาการของเด็ก ต้องรู้ว่าวัยไหนควรจัดการเรียนแบบไหนเมื่อรู้แล้ว เราสามารถวางแผนการสอนได้ถูกต้อง และเมื่อมีปัญหาก็สามารถที่จะแก้ไขได้ทันถ่วงที
2
อีริคสัน
เรียนรู้ตลอดชีวิต
พัฒนาการเริ่มตั้งแต่อายุ 0 ปี จนถึงวัยชรา(ตลอดชีวิต)  และทุกๆการพัฒนานั้นจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมต่างๆที่พบเจอในสังคม ส่วนวัยผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในวัยเด็ก
ขั้น
ไม่ควรที่จะคำนึงถึงประสบการณ์ของเด็กเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงขั้นพัฒนาการของเด็กด้วย ซึ่งสิ่งนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น และสามารถวางแผนการสอนได้อย่างถูกต้อง
3
โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
พัฒนาการตามวัย
พัฒนาการของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่สังคมและวัฒนธรรมก็ยังเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละคน
ขั้น
ครูสามารถที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เรียนรู้จากของจริงให้มากที่สุด เช่น ถ้าสอนวิชาประวัติศาสตร ก็จะพาผู้เรียนไปทัศนศึกษาสถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ
4
โคลเบิร์ก
พัฒนาการทางจริยธรรม
รู้การผิดชอบชั่วดีของมนุษย์
ขั้น
1. ครูสามารถที่จะควบคุมผู้เรียน โดยการกฎเกณฑ์ต่างๆ ในชั้นเรียน
2. ครูจะสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเหตุผลในการตัดสินใจ
5
เปียเจท์
ความคิดและจริยธรรม
ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กมีกี่ขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ตั้งอยู่บนรากฐานของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ขั้น
3. ครูสามารถที่จะจัดสื่อในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
4. ครูสามารถฝึกการทำงานเป็นกลุ่มของผู้เรียน
5. ครูจะสามารถให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
6
บรูเนอร์
พัฒนาการทางด้านความคิด
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือองค์ความรู้เดิม
ขั้น
ครูสามารถที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน โดยสามารถคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้เรียนแต่ละคน




ทฤษฏีการเรียนรู้


ที่
ทฤษฎี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
ลำดับขั้น
ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1.
พาฟลอฟ
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตมักเกิดจากการวางเงื่อนไข จนนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งสามารถอธิบานเพิ่มเติมได้ว่า เมื่อพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำหลายๆครั้ง จนผู้ถูกวางเงื่อนไขเกิดการเรียนรู้ ครั้งต่อไปก็จะเกิดพฤติกรรมตอบสนองโดยอัตโนมัติ เพียงแค่มีสิ่งเร้าเกิดขึ้น โดยไม่ต้องบอกเงื่อนไขซ้ำอีก
3 ขั้น
ครูสามารถใช้หลักการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมมตอบสนองของผู้เรียน
2.
วัตสัน
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
ทุกๆพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์จะเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
คนเราเกิดมาจะมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ติดตัวมาโดยไม่ต้องเรียนรู้อยู่ 3 อย่าง คือ
-       ความกลัว
-       ความโกรธ
-       ความรัก
ขั้น
ครูสามารถที่จะหลักการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ ในการควบคุมผู้เรียน ครูจะสามารถวางเงื่อนไขให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามที่พึงประสงค์ได้
3.
ธอร์นไดท์
การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยการตอบสนองจะแสดงออกในหลายๆรูปแบบจนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีที่สุด เรียกว่า การลองผิดลองถูก
3ขั้น
1. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง
2. เมื่อผู้เรียนเกิดการรู้แล้ว  ครูสามารถที่จะฝึกให้ผู้เรียนนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. การให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตัวเองพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียน การสอน ประสบความสำเร็จ
4.
สกินเนอร์
การเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบ Type R และให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับพฤติกรรมตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่จะให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า และยังให้ความสำคัญในเรื่องของการเสริมแรง หรือพูดได้ว่าอัตราการเกิดพฤติกรรมตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำที่เรียกว่า การเสริมแรงหรือการลงโทษทั้งทางบวกและทางลบ
ในการเรียนการสอนครู  สามารถที่จะใช้ทฤษฏีนี้ ในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ด้วยการเสริมแรงให้กับผู้เรียน เช่น ให้คำชมเมื่อผู้เรียนทำดี และในการลงโทษครูสามารถที่จะลงโทษผู้เรียนในทางบวกได้
5.
เกสตัลท์
การเรียนรู้จากการรับรู้และการหยั่งเห็น
ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วนำความสัมพันธ์นั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ทั้งนั้นในการแก้ปัญหาในแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความสามารถ วุฒิภาวะ และประสบการณ์ที่เคยพบมาในอดีตด้วย
4ขั้น
1. ครูสามารถที่จะจัดการเรียนการสอนให้มีความยากง่ายให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
2. ครูสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย
6.
บันดูรา
การเรียนรู้จากการสังเกตเเละเลียนเเบบ
โดยที่บันดูรา กล่าวว่า มนุษย์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อม ถึงจะเกิดการสังเกตเเละเลียนเเบบ
ขั้น
ครูสามารถที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเรียนการสอน ในเรื่องการแต่งกาย ฯลฯ

การนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีกลุ่มเกสตัล

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

1.  ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น

2.   เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี้

--เน้นความแตกต่าง

--กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล

--กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

--กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ

--กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น

3. การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน

4. คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้ และควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย

5. บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ในLife space ของผู้เรียนได้

6. ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี โดยธรรมชาติเพื่อนในชั้นเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบสูงอยู่แล้ว ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรม ที่ดี มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี


ทฤษฎีเบนดูรา

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

1. ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม

2.  การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎี ปัญญาสังคมทั้งสิ้น ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ ความผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ ไม่ว่าครูจะพร่ำบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจจดจำ แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว


ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำสกินเนอร์

การประยุกต์ช้ในด้านเรียนการสอน


1. การใช้กฎการเรียนรู้ กฎที่ 1 คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใดมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เช่นทึกครั้งที่ผู้เรียนตอบคำถามถูก ครูจะรีบเสริมแรงทันที อาจเป็นคำชม เครื่องหมายรูปดาว เป็นต้น ซึ่งเหมาะในการใช้กับเด็กเล็ก เช่น ชั้นอนุบาล ประถม ส่วนกฎที่ 2 คือกฎการเสริมแรงเป็นครั้งเป็นคราวมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้นานต่อไปเรื่อย ๆ แล้วแต่จะ

เหมาะสมของผู้เรียน และโอกาสที่จะใช้ซึ่งเหมาะสมสำหรับเด็กโต เป็นต้น

2. บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Learning) บทเรียนสำเร็จเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1954 จากแนวความคิดของสกินเนอร์ จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขในห้องเรียน ผู้เรียนแต่ละคนได้รับการเสริมแรงน้อยและยังห่างจากเวลาที่แสดงพฤติกรรม เป็นเวลานานเกินไปจนขาดประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหานี้เขาจึงเสนอบทเรียนสำเร็จรูป โดยมีจุดประสงค์ว่าผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันทีที่แสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องบทเรียนจะแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยและข้อย่อย ๆ มี 2 ลักษณะ คือ

2.1 การจัดเรียงบทเรียนเป็นเส้นตรง (Linear Programming) ลำดับขั้นของบทเรียนจากง่ายไปยาก

โดยเริ่มจากหน่วยแรกไปเรื่อยตามลำดับโดยถือว่าการเรียนขั้นแรกเป็นพื้นฐานของขั้นตอนต่อไปและมีคำถามในลักษณะเติมคำในช่องว่างให้ผู้เรียนตอบ มีคำเฉลยไว้ก่อนเมื่อตอบแล้วจึงเปิดดู เหมาะสำหรับวิชาที่เรียงตามลำดับขั้นตอน

2.2 บทเรียนที่มีเป็นตอน (Branching Programming) เป็นบทเรียนที่ผู้เรียนมีโอกาสทีได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมในกรณีที่ตอบคำถาไม่ถูก ส่วนวิธีเรียนก็เรียงจากง่ายไปยากแต่ลักษณะคำถามจะเป็นแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) เมื่อผู้เรียนตอบคำถามหมดแล้วจึงพลิกไปดูคำเฉลย

2.3 การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) คือการปรุงแต่งพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการซึ่งมี 3 ลักษณะคือ

2.3.1 การเพิ่มพฤติกรรมหรือคงพฤติกรรมเดิมที่เหมาะสมไว้

2.3.2 การสร้างเสริมพฤติกรรมใหม่

2.3.3 การลดพฤติกรรม

2.4 การสอนวิธีการพูด หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมทางวาจา (Verbal Behavior) สกินเนอร์ได้ผลิตเครื่องบันทึกเสียงขึ้นในปี ค.ศ. 1963 เพื่อใช้ฟังเสียง การอ่านการพูดซึ่งเป็นประโยชน์มากในวงการด้านภาษา เข้ากล่าวว่า ภาษาพูดเกิดขึ้นจากการเรียนรู้เมื่อได้รับการเสริมแรง


ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

1.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง

2.สำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียน

       - การสอนให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้  และต้องให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

      - การให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ


ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคาสสิคของ พาฟลอฟ

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

        1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล

        2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์

        3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข

        4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

        1. การนำความต้องการทางธรรมชาติของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้า

สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีเช่น ถ้าเด็กชอบเล่นหุ่นยนต์ ครูควรสอนให้เด็กอ่านและเขียนคำศัพท์ต่างๆในบทเรียนโดยให้หุ่นยนต์เป็นรางวัล

       2.ในการสร้างพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้นในผู้เรียน ควรพิจารณาสิ่งจูงใจหรือสิ่งเร้าเร้าที่เหมาะสมกับภูมิหลังและความต้องการของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้าควบคู่ไปกับสิ่งเร้าวางเงื่อนไข เช่น ถ้าอยากให้นักเรียนตอบคำถาม ครูควรแสดงท่าทางของความอบอุ่นและให้กำลังใจจะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ ทำเช่นนี้สม่ำเสมอ

เด็กจะเกิดการเรียนรู้ และมีความคงทนในการแสดงพฤติกรรม

       3. ขณะสอนครูควรสังเกตการกระทำหรือการเคลือนไหวของผู้เรียนว่ากำลังเกี่ยวพันกับสิ่งเร้าใดถ้าครูให้สิ่งเร้า

ที่เกี่ยวพันกับการเคลื่อนไหวนั้นน้อยกว่าก็จะไม่สามารถเปลี่ยนการกระทำของผู้เรียนได้

      4.ในการสอน ควรวิเคราะห์งานออกเป็นส่วนย่อยๆและสอนหน่วยย่อยเหล่านั้นให้เด็กสามารถตอบสนองอย่างถูกต้องจริงๆหรือได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้องในทุกๆหน่วย

     5. ในการจบบทเรียนไม่ควรปล่อยให้ผู้เรียน จบโดยได้คำตอบผิดๆหรือแสดงอาการตอบสนองผิดๆเพราะเขาจะเก็บ

การกระทำครั้งสุดท้ายไว้ในความทรงจำใช้แบบแผนในการทำจนเป็นนิสัย

       6.  การสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ในการสอน

จึงควรมีการจูงใจผู้เรียน

การนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของทฤษฎีพัฒนาการ

ซิกมันด์ฟรอยด์

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางเพศของ
        

      พัฒนาการมนุษย์ตามแนวคิดของฟรอยด์เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เด็กมีการพัฒนาการด้านบุคลิกภาพที่เหมาะสมได้ เพราะหากเด็กผ่านแต่ละวัยมาโดยไม่มีปัญหา ไม่เกิดการชะงักที่วัยใดวัยหนึ่งก็จะโตขึ้นมีบุคลิกภาพที่ปกติ แต่ถ้าเด็กมีปัญหาในแต่ละขั้นของพัฒนาการก็จะมีบุคลิกภาพผิดปกติ เช่น เด็กเกิดการชะงักที่ขั้นปาก ก็จะส่งผลต่อเด็กเมื่อโตขึ้น เช่น สูบบุหรี่ กัดนิ้ว ดูดนิ้ว รับประทานมาก เป็นต้น เราจึงควรมีการเลี้ยงดูที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย
        ในขั้นอวัยวะเพศ เด็กจะมีการแบ่งแยกบุคลิกภาพทางเพศในขั้นนี้ เด็กเริ่มมีการสนในและเรียนรู้เรื่องของแตกต่างด้านเพศ มีความสนใจสอบถามหรือเลียนแบบพฤติกรรม เด็กผู้ชายจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อ เด็กผู้หญิงจะเรียนแบบพฤติกรรมของแม่ เพราะฉะนั้นต้องให้ความรู้ด้านเพศที่ถูกต้องแก่เด็ก หากเด็กไม่ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง หรือขาดต้นแบบที่ดีอาจทำให้เด็กเกิดการสับสนทางเพศและโตขึ้นอาจจะเบี่ยงเบนทางเพศได้
        ครูผู้สอนสามารถนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศที่ถูกต้อง เริ่มมีการสอนในเรื่องของบทบาทในสังคมที่ถูกต้อง และในขั้นของเพศครูก็ควรหากิจกรรมเสริมต่างๆ ให้นักเรียนได้ทำ เช่น กิจกรรมกีฬา กิจกรรมดนตรี เป็นต้น เพื่อไม่ให้เด็กหมกมุ่นแต่ในเรื่องเพศ

ทฤษฎีพัฒนาจิต-สังคมของอิริคสัน


การนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
        
       ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต สังคมของอีริคสันส่งผลให้วงการศึกษาตื่นตัวอย่างน้อยที่สุด 2 เรื่องคือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน นอกจากนี้ครูที่นำขั้นพัฒนาการมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ก็จะสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้

บรูเนอร์

การนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน

2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน

3. การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน

4. ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน

5. การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน

6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

7. การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น

8. การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้

แนวคิดของวัตสัน

แนวคิด  
วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลักสำคัญ ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน
วิธีการทดลอง  
เริ่มโดยผู้วิจัยเคาะแผ่นเหล็ก ให้ดังขึ้นให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR) คือ ความกลัว Watsonได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อ หนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดัง ขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
                                                           แผนผังการทดลอง
เสียงดัง  (UCS)                   --------------             กลัว (UCR)
หนูขาว  (neutral)                --------------                ไม่กลัว
หนู  +  เสียงดัง                     --------------             กลัว  (CR)
หนูขาว    (CS)                      --------------                กลัว  (CR)

การวางเงื่อนไขกลับ(Counter Conditioning)
วัตสันคิดหาวิธีที่จะลบความกลัวนั้นให้หายไป แต่เขาก็ไม่สามารถทำการทดลองกับอัลเบรอร์ตต่อไปได้เนื่องจากอัลเบรอร์ตได้มีผู้รับไปอุปการะในอีกเมืองหนึ่งเสียก่อน วัตสันจึงได้เสนอให้โจนส์ ทำการทดลองเพื่อลบความกลัวของเด็กอายุ 3 ปี ผู้หนึ่งชื่อ ปีเตอร์
            ปีเตอร์เป็นเด็กที่มีสุขภาพดี แต่เป็นเด็กขี้กลัวมาก เขากลัวทั้งขนสัตว์และสิ่งของหลายชนิด เช่น หนูขาว กระต่าย เสื้อขนสัตว์ ขนนก สำลี กบ ปลา เป็นต้น วัตสันเปรียบปีเตอร์เหมือนเป็นอัลเบรอร์ตตอนโตขึ้นแล้ว
            โจนส์ได้พยายามลบความกลัวกระต่ายของปีเตอร์หลายๆวิธี เช่น ให้ปีเตอร์ดูเด็กอื่นเล่นกระต่าย หรือให้ปีเตอร์เห็นกระต่ายบ่อยๆ แต่ก็ไม่เป็นผล วิธีที่โจนส์ให้ความสนใจและพบว่าได้ผลมากก็คือ  การวางเงื่นไขกลับ (Counter Conditioning) การวางเงื่อนไขกลับนี้ เป็นการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขใหม่ ที่ตรงข้ามกับสิ่งเร้าเก่า เพื่อให้เกิดการตอบสนอง ที่ตรงข้ามกับการตอบสนองเดิม

วิธีการทดลอง
      โจนส์จะนำกรงกระต่ายไปวางไว้ห่างๆในขณะที่ปีเตอร์กำลังรับประทานขนมอย่างเอร็ดอร่อยในช่วงบ่าย ปีเตอร์ไม่กลัวเพราะกระต่ายอยู่ไกลและกำลังเพลิดเพลินกับการกินขนม โจนส์ทำการทดลองเช่นนี้ทุกวัน แต่จะค่อยๆ เลื่อนกระต่ายเข้ามาใกล้ปีเตอร์วันละนิด เมื่อสิ้นสุดการทดลอง โจนส์ก็พบว่า ปีเตอร์ใช้มือข้างหนึ่งเล่นกับกระต่าย ในขณะที่ใช้มืออีกข้างหนึ่งกินขนม จึงแสดงว่า ไม่เพียงแต่เข้าจะหายกลัวกระต่ายเท่านั้น แต่เขายังรู้สึกชอบเล่นกับกระต่ายอีกด้วย




จากการทดลอง วัตสัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
      1) พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
      2)เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือทำของ
สกินเนอร์ (Skinner)

       ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์
Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "

การเสริมแรง (Reinforcement )
หมายถึง สิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
            1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
            2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าที่ซึ่งเมื่อถูกถอดถอนออกไปแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองมีความถี่หรือเพิ่มมากขึ้น เช่น เมื่อใดที่หัวหน้าอยู่ด้วย พนักงานพิมพ์ดีดจะพิมพ์ได้ช้าและผิดพลาดมาก  เมื่อใดที่หัวหน้าออกจากห้องไป พนักงานพิมพ์ดีดก็จะพิมพ์ได้เร็วขึ้น และผิดพลาดน้อยลง กรณีนี้หัวหน้าก็เป็นตัวเสริมแรงทางลบ

 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
          
           ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F. Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐ อเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่อง มือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
         Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent) - พฤติกรรม(Behavior) - ผลที่ได้รับ(Consequence) ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ




การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมา Skinner Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร
สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ได้กำหนดการวางเงื่อนไขการกระทำ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในปัจจุบัน โดยวิธีการวางเงื่อนไขจะใช้การเสริมแรง โดยทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการและค้นคว้าจนพบว่าใช้ได้ดีกับมนุษย์

หลักการวางเงื่อนไขผลกรรม (Operant Conditioning) มีแนวคิดว่า การกระทำใด ๆ (Operant) ย่อมก่อให้เกิดผลกรรม (Consequence หรือ Effect)




การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม


การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม ผลกรรมที่เกิดขึ้น
- ถ้าเป็นผลกรรมที่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงบวก เรียก การเสริมแรง
- ถ้าเป็นผลกรรมที่ไม่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงลบ เรียกว่า การลงโทษ

การเสริมแรง หมายถึง การทำให้มีพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากผลกรรม ได้แก่
- เสริมแรงทางบวก เช่น ทำงานเสร็จแล้วแม่ให้ถูโทรทัศน์
- เสริมแรงทางเชิงลบ เช่น การขึ้นสะพานลอยเพื่อพ้นจากการถูกจับ

การลงโทษ หมายถึง การให้ผลกรรมที่ไม่ต้องการ หรือ ถอดถอนสิ่งที่ต้องการแล้วทำให้พฤติกรรมลดลง ได้แก่
- การลงโทษทางบวก เช่น เด็กส่งเสียงดัง แล้วถูกดุ
- การลงโทษทางลบ เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จแล้วแม่ไม่ให้ไปเล่นเกมส์

หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีพาฟลอฟ
           
          พาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไจ (Conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันจะไม่ตอบสนองเช่นนั้นเลย


การทดลองของพาฟลอฟ
ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง กับการทดลอง
         1. Unconditioned Stimulus ; UCS สิ่งเร้าที่ไม่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นสิ่งเร้าที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองโดยตรง
         2. Conditioned Stimulus ; CS สิ่งเร้าที่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นสิ่งเร้าที่ไม่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองโดยตรง
         3. Unconditioned Response ; UCR พฤติกรรมตอบสนองที่ไม่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นพฤติกรรมตอบสนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน ของร่างกาย เช่น น้าลายไหล ส่ายหัว (สุนัข)
         4. Conditioned Response ; CR พฤติกรรมตอบสนองที่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นพฤติกรรมตอบสนองที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเรียนรู้ เงื่อนไขที่กำหนด

ขั้นตอนการทดลองของพาฟลอฟ
การเตรียมการทดลอง เป็นการเตรียมสิ่งที่ใช้ทดลอง ได้แก่ สุนัขที่กำลังหิว อาหาร กระดิ่ง เครื่องวัดน้ำลายและท่อยาง



ก่อนการวางเงื่อนไข เป็นขั้นศึกษาพฤติกรรมตอบต่อสิ่งเร้าของสุนัข



ระหว่างการวางเงื่อนไข เป็นขั้นของการทำให้สุนัขเกิดการเรียนรู้เงื่อนไข เพื่อแสดงพฤติกรรมตอบสนอง



ขั้นของการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ทำให้รู้ว่าสุนัขเกิดพฤติกรรมตอบสนองการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟหรือยัง